Category
ทดสอบกิจกรรม_4
กรุงเทพฯ 22 มกราคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “Open House : ปั้น ปรุง เปลี่ยน ธุรกิจใหม่ ให้ DIProm : Fulfill New Entrepreneurs” ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ราชปรารภ งานดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเป็นสร้างการรับรู้แก่ผู้ประกอบการใหม่ สตาร์ทอัพ และผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการกับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์แนวทางการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของ กสอ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในการส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการใหม่ และสตาร์อัพให้มีศักยภาพและเติบโตเป็นผู้ประกอบการที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยทาง กสอ. มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาทักษะความสามารถด้านการบริหารจัดการในการประกอบธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ เพื่อยกระดับศักยภาพและความสามารถของผู้ประกอบการใหม่ รวมถึงการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อเร่งให้เกิดการจัดตั้งและขยายธุรกิจที่มีศักยภาพนำไปสู่การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ผ่านทั้ง 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (NEC) 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่ 3. การพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมรุ่นใหม่ และ 4. แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่” (Delta Angel Fund) ซึ่งทุกกิจกรรม กสอ. จะเป็นพี่เลี้ยงในการให้บริการปรึกษาแนะนำและช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ด้วยการต่อ เติม เสริม ทุน สร้างความแข็งแกร่งให้กับนักรบทางเศรษฐกิจหน้าใหม่ของประเทศต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 มี.ค. 2020
ทดสอบกิจกรรม_3
จ.เชียงใหม่ 31 มกราคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการบูรณาการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน พื้นที่ภาคเหนือ โดยมี นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวนิรามัย ศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ (ศภ.1 กสอ.) คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำพูน แพร่ ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน ผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ ผู้แทนสภาหอการค้าภาคเหนือ ผู้แทนสภาเกษตรกรจาก 8 จังหวัดภาคเหนือ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยภาคเหนือ สมาคมต่าง ๆ ประธานกลุ่มเครือข่ายคลัสเตอร์ ผู้แทนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนจากหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และผู้นำชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคเหนือ เข้าร่วมประชุมหารือดังกล่าว ณ โรงแรมรติล้านนา ริเวอร์ไซต์ สปา รีสอร์ท อ.เมือง การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือและรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน ลำพูน แพร่ ลำปาง พะเยา และแม่ฮ่องสอน) เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานของ กสอ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รวมทั้งหารือแนวทางการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคเหนือให้ทั่วถึงและให้สอดคล้องกับความต้องการในมิติที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถพัฒนาต่อยอดผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับพื้นที่ภาคเหนือถือเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของกลุ่มอุตสาหกรรมและมีผู้ประกอบการเครือข่ายต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง รวมถึงมีความต้องการของผู้ประกอบการในหลากหลายมิติ อาทิ การจัดงานแสดงสินค้าสำหรับการทดสอบตลาดในอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ พื้นที่สำหรับจัดแสดงสินค้าตัวอย่างของผู้ประกอบการ การบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง กสอ. โดย ศภ.1 กสอ. จะเร่งรวบรวมและดำเนินการ พร้อมทั้งผลักดันความต้องการของพื้นที่ อันจะส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 มี.ค. 2020
ทดสอบกิจกรรม_2
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมสัมภาษณ์ในประเด็นแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนให้แก่ผู้เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 18 จากสถาบันนพระปกเกล้า ร่วมด้วย คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ณ ห้องรับรองชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของ กสอ. ในการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจากหมู่บ้านศาลาดิน ต.มหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กสอ. ได้ดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการพื้นที่ในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่คนในชุมชน การบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้ง เปิดเผยถึงแนวทางการเชื่อมโยงและต่อยอดร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในการดึงดูดนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่ให้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
20 มี.ค. 2020
ทดสอบกิจกรรม_1
กรุงเทพฯ 11 มีนาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีมอบโล่และประกาศเกียรติคุณ "คนดี ศรี กสอ." ประจำปี 2562 จำนวน 9 ท่าน เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 78 ปี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการปฏิบัติงานราชการอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมี นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพสุ โลหารชุน อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ผู้บริหาร ข้าราชการ อดีตผู้บริหารระดับสูงและข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ ห้องประชุม โซน A ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ. : ภาพข่าว / รายงาน)
20 มี.ค. 2020
ทดสอบประชาสัมพันธ์_4
ประชันแนวคิดชิงทุนสนับสนุนมูลค่ารวมกว่า 4 ล้านบาท พร้อมติดปีกอาวุธธุรกิจ ฟรี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ขอเชิญผู้ประกอบการ SMEs / Startup /บุคคลทั่วไป และ นิสิตนักศึกษาปี 4 เข้าชิงทุนสนับสนุนการจัดตั้งหรือขยายธุรกิจ สมัครเข้าร่วมโครงการ Delta Angel Fund 2020 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้โจทย์แนวคิด.- Industrial Automation : ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม Energy Management : การจัดการพลังงาน Innovation : นวัตกรรมเพื่ออนาคต สอบถามเพิ่มเติม คุณมีนา ชินโคตร 092- 246-2137 / 02-202-4578-9 angelfund2019@gmail.com
19 มี.ค. 2020
ทดสอบประชาสัมพันธ์_3
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ขอเชิญเข้าร่วมฟังสัมมนาทางวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง ผ่าทางตัน ดันยอดขาย ด้วยกลยุทธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ "SMEs and Food Service Logistic" วัตถุประสงค์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ รวมถึงการปรับตัวและสร้างกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน และร่วมฟังการเสวนาของผู้บริหารธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและมากด้วยประสบการณ์ อาทิ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักสื่อสารมวลชนและการตลาด อาจารย์พิเศษ ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มจพ. คุณธีรพัฒน์ เลิศประภา ประธานกรรมการฝ่ายบริหาร บริษัทอิ่มทรัพย์ โกลบอล คูซีน จำกัด คุณวิทยา ลิมป์รัตนกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ บรัทหัวปลาช่องนนทรี จำกัด ดำเนินรายการโดย ดร.รณชาติ บุตรแสนคม ผู้ประกาศข่าวและพิธีกร เข้าร่วมงานฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ตั้งแต่เวลา 13.00 -16.00 น. ณ หอประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี กำหนดการ การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง SMEs and Food Service Logistic สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณปพิชญา เบอร์โทรศัพท์ 087-5577392
19 มี.ค. 2020
ทดสอบประชาสัมพันธ์_2
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ลดต้นทุน และเพิ่มช่องทางการบริการได้ รายชื่อผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถทดลองใช้ซอฟต์แวร์ด้านการบริหารจัดการด้านการค้าและบริการ เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในข้างต้น ได้รับการพัฒนาจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย (Software House) จำนวน 21 ราย รายชื่อบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (Software House) ขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อทดลองใช้ซอฟต์แวร์ สามารถสมัครลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ i.industry.go.th คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นายกฤตนันท์ เพียกขุนทด 08 9847 0651
19 มี.ค. 2020
การแบ่งส่วนงาน
กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 4 กลุ่มงานและ 1 ฝ่ายบริหาร ดังนี้ (1) กลุ่มนโยบายและแผนเกษตรอุตสาหกรรม (2) กลุ่มเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีการจัดการเกษตรอุตสาหกรรม (3) กลุ่มอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป (4) กลุ่มพัฒนาธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม (5) ฝ่ายบริหารทั่วไป โดยแต่ละส่วนงานมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ กลุ่มนโยบายและแผนเกษตรอุตสาหกรรม (1) รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อจัดทำนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรอุตสาหกรรม (2) จัดทำแผนงานและโครงการ ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมที่เหมาะสม เพื่อยกระดับขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล (3) จัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรม ทั้งที่เป็นข้อมูลด้านการประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม ข้อมูลการลงทุน การค้าและบริการผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรม แนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรม และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ที่สนับสนุนภาคเกษตรอุตสาหกรรม (4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีการจัดการเกษตรอุตสาหกรรม (1) ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม กระบวนการผลิตและเครื่องมือกลที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรอุตสาหกรรม (2) ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตและเครื่องมือกลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับประสิทธิภาพเกษตรอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการกับภาคอุตสาหกรรม (3) ให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม (4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป (1) พัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่ช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม (2) พัฒนาคุณภาพ ยกระดับมาตรฐานและผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรม ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล (3) พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและได้ผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรมใหม่ ๆ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย กลุ่มพัฒนาธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม (1) ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหารจัดการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกอบการและการแข่งขันให้สูงขึ้น (2) สร้างและพัฒนานักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ ขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจและสามารถรองรับการเติบโตของภาคเกษตรอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) ส่งเสริม สนับสนุนภาคเกษตรอุตสาหกรรม ให้เกิดการเชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวและชุมชน (4) พัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการดำเนินการทางธุรกิจ รวมทั้งสร้างโอกาสและขยายช่องทางการตลาดให้มากขึ้น (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย ฝ่ายบริหารทั่วไป รับผิดชอบงานสารบรรณและช่วยอำนวยการทั่วไป งานรับ - ส่ง โต้ตอบ เก็บรักษากฎระเบียบ คำสั่ง และเอกสารสำคัญ งานการประชุม สัมมนา ฝึกอบรมภายใน ประสานงาน งานแผนและงบประมาณของกอง งานการเงินและตรวจสอบเอกสาร งานพัสดุ และดำเนินการอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
19 มี.ค. 2020
ประวัติหน่วยงาน
กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (Innovative Agriculture-Industry Development Division : IAID) เป็นหน่วยงานภายในของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรอุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐบาล โดยการเชื่อมโยงตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำไปจนถึงผู้ผลิตกลางน้ำ และส่งต่อให้ผู้ทำการตลาดปลายน้ำ อันจะเป็นการยกระดับรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากในองค์รวม และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ (1) ศึกษาสภาวะของเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อจัดทำแผนงานและโครงการในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม มีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ (2) ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ภูมิปัญญา กระบวนการผลิตและเครื่องมือกลที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปที่เหมาะสม เพื่อยกระดับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและให้ได้ผลผลิตที่สมบูรณ์มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาด (3) ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหารจัดการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ที่ช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม (4) พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดให้มีการขยายตัวมากขึ้น (5) สร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงระบบห่วงโซ่อุปทานของเกษตรอุตสาหกรรมให้เกิดการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ในการพัฒนาการประกอบการ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการขยายการลงทุนหรือสร้างโอกาสการประกอบธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง (6) ให้บริการข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในการยกระดับคุณภาพของเกษตรอุตสาหกรรม (7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
19 มี.ค. 2020